จาก “งานอสังหาริมทรัพย์ดัชนีหลักชี้เศรษฐกิจปี 2020” นายกอปศักดิ์ ภูตระกูล รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเปิดปาฐกถาพิเศษในหัวข้อมุมมองเศรษฐกิจไทยและอสังหาริมทรัพย์ต่อช่วงสถานการณ์โควิด-19 และเทคนิคการเอาตัวรอดของ ผู้ประกอบการอสังหาฯ ไว้อย่างน่าสนใจ
แนะ!! ผู้ประกอบการอสังหาฯ
กล่าวคือ หลังจากช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านเศรษฐกิจของไทยเข้าสู่ภาวะซบเซาอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะ 2 ปี จนมาในปีนี้เริ่มเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์มากขึ้น โดยประเทศเรา กำลังก้าวผ่านเข้าสู่ศักราชใหม่ของเศรษฐกิจ ไปในทิศทางแนวโน้มที่ดีขึ้น ซึ่งระหว่างนี้อาจจะมีปัจจัยหลายด้าน เข้ามากระทบหากสามารถผ่านไปได้ ก็ถึงช่วงเวลาที่ผู้ประกอบการอสังหาฯ จะต้องเตรียมตัว เพื่อที่จะได้ก้าวตามให้ทัน
อย่างไรก็ตาม ในช่วงของปลายอุโมงค์เศรษฐกิจไทยนี้ จะเกิดการแข่งในตลาดค่อนข้างสูง ฉะนั้นผู้ประกอบการที่มีการเตรียมตัวไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะสามารถฟื้นตัวและก้าวตามได้ทัน มากกว่ารายที่ไม่ได้เตรียมตัวเลย โดยเฉพาะในช่วงโค้งสุดท้าย ที่เข้าสู่ระยะพ้นวิกฤต ยิ่งต้องเตรียมตัวในเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างกิจการ ลดต้นทุน ประกาศรับคนงานใหม่ การซื้อสินทรัพย์ รวมทั้งการเปิดรับพันธมิตรทางธุรกิจเป็นต้น
และในงานนี้คุณกอบศักด์ ได้เข้ามาตอบ 5 คำถามที่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์อยากรู้ คือ
1. พร้อมหรือยังสำหรับการลงทุนใหม่หลังจากช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา
– ช่วงนี้เป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุดในการเตรียมลงทุน เพราะถึงแม้ว่าโควิด-19 ยังระบาดอยู่แต่จากการประเมินสถานการณ์สายพันธุ์โอมิครอนที่กำลังแพร่ระบาดหนักนั้น ไม่ใช่อุปสรรคที่สำคัญอีกต่อไปแล้ว เพราะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในระยะสั้น ดูตัวอย่างได้จากต่างประเทศที่ตัวเลขของผู้ติดเชื้อจะสูงรวดเร็ว แต่ก็อยู่ไม่นานก็ลดลงเร็วเช่นกัน รวมทั้งอัตราการฉีดวัคซีน ของประชากรในประเทศส่วนใหญ่ก็ได้รับวัคซีนเกือบ 100% แล้ว คาดว่าโอมิครอนจะลดลงในช่วงปลายมี.ค.นี้
2. กำลังซื้อและเศรษฐกิจภายในของประเทศไทยจะเป็นอย่างไร
– สัญญาณดัชนีเศรษฐกิจของไทย เริ่มส่งสัญญาณดีขึ้นมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ซึ่งสอดคล้องกับ Google Mobility Index ที่เผยไว้ว่า ถึงแม้ว่าโอมิครอนจะระบาด แต่แนวโน้มกิจกรรมทางเศรษฐกิจในด้านอื่น ๆ นอกจากภาคท่องเที่ยว มีความกระเตื้องไปในแนวทางที่ดีขึ้น ส่วนภาคการท่องเที่ยวนั้นคาดว่าจะกลับมาคึกคักได้อีกหลังจากที่ภาครัฐเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยว ซึ่งในปี 2565 นี้จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศมากกว่า 6 ล้านคน
3. ภาวะต้นทุนและเงินเฟ้อจะเป็นอย่างไรต่อไป
– ถ้าเทียบแล้วภาวะเงินเฟ้อของไทยยังถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าประเทศอื่น ยิ่งเข้าช่วงครึ่งปีหลังเดือนก.ย.จะเริ่มลดลงอย่างเห็นได้ชัด สิ่งที่น่ากังวลจะเป็นเรื่องราคาวัสดุก่อสร้างที่จะปรับราคาขึ้นประมาณ 10% โดยเฉพาะราคาเหล็กที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อันเกิดขึ้นมาจากผลพวงจากการปรับตัวของเศรษฐกิจ แต่ยังไม่ถึงขั้นวิกฤตเพราะราคามีการปรับตัวมาตลอด ในช่วงต่อไปน่าจะอยู่ในช่วงทรงตัว
– ส่วนผลกระทบเรื่องของราคาน้ำมันที่พุ่งถึง 100 เหรียญต่อบาร์เรลแล้วนั้น อาจจะส่งผลต่อต้นทุนในหลาย ๆ ส่วนเพราะถือได้ว่าราคาน้ำมันเป็นต้นทุนใหญ่
4. เรื่องของค่าเงินบาท
– จากสถานการณ์แล้วคาดว่าค่าเงินบาทอาจจะเกิดการอ่อนตัวลงอยู่ที่ระหว่าง 32-34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อันเป็นผลที่เกิดขึ้นจากค่าเงินดอลลาร์มีการปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากดอกเบี้ยของเฟด รวมทั้งการดึงสภาพคล่องกลับ
5. ศักยภาพของนโยบายรัฐและ Location
– หลังจากที่ประเทศไทยผ่านวิกฤตในช่วงต่าง ๆ มาแล้ว เชื่อได้ว่านับจากนี้ไปทุกอย่างกำลังจะไปในทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากภาครัฐให้การสนับสนุนในการลงทุนโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการ และแต่ละโครงการก็ยังมีการเชื่อมโยงไปยังประเทศอื่น ๆในหลายภูมิภาค แน่นอนว่าเป็นจังหวะอันดีของผู้ประกอบการอสังหาฯที่ต้องการจะลงทุนมาก
แหล่งที่มา : bangkokbiznews.com
เรื่องอื่นที่น่าสนใจ :
- อสังหาปี 2565 โชว์ฟอร์มเดือด ดันตลาดที่อยู่อาศัยขยายฐานลูกค้า
- 18 ไอเดีย บ้านโมเดิร์นชั้นเดียว งบ 3-5 แสนบาท จัดได้สบายๆ
- 33 ไอเดียบ้านสวนหลังเล็กกะทัดรัด ไว้พักผ่อนสบายๆ ในวันหยุด