สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยปี 2565 เข้าสู่ช่วงฟื้นตัวดัชนีรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ ขยับขึ้น 14.2% คาด ยอดการโอนอสังหาฯ พุ่งกระฉูด 9 แสนล้านบาท
คาดการณ์ ยอดการโอนอสังหาฯ ปี 2565
ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการ ( REIC ) ดร. วิชัย วิรัตกพันธ์ ได้เผยถึงสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยปี 2565 ไว้อย่างน่าสนใจ กล่าวคือ ในปีนี้นั้นส่วนของภาคธุรกิจที่เกี่ยวกับด้านอสังหาฯยังคงต้องเผชิญกับสถานการณ์ทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบ
โดยปัจจัยบวกที่ว่า ก็คือมาตรการที่ภาครัฐออกมากระตุ้นการฟื้นตัวธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ อาทิ ลดค่าจดจำนองและค่าธรรมเนียมการโอนลงเหลือร้อยละ 0.01 , ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาผ่อนคลายมาตรการผ่อนปรน LTV ส่งผลประโยชน์ต่อการซื้อบ้านสัญญาที่ 2 และที่ 3 เพื่อการอยู่อาศัยและเพิ่มให้มีการลงทุนมากขึ้น
อีกทั้งธนาคารยังมีสภาพคล่องมากพอที่จะปล่อยสินเชื่อใหม่ให้กับผู้ประกอบการ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถที่จะจัดโปรโมชั่นลด แลก แจก แถม ให้กับผู้บริโภค
ส่วนปัจจัยลบยังคงเป็นเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กำลังเป็นที่วิตกกังวลต่อสายพันธุ์ “โอมิครอน” ว่าจะมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นมากน้อยเพียงใด, ภาวะหนี้ครัวเรือนที่ทวีสูงขึ้นถึง 90% ของ GDP, ภาวะคนตกงานและขาดรายได้ทำให้การฟื้นตัวของแรงงานเป็นไปอย่างเชื่องช้า
ต่อเนื่องไปจนถึงหนี้ NPL ของสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น ส่งผลไปถึงเรื่องของการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินที่ต้องตรวจสอบให้ละเอียดก่อนที่จะปล่อยสินเชื่อ, ค่าก่อสร้างมีต้นทุนแพงขึ้น ทำให้โครงการที่อยู่อาศัยสร้างใหม่ต้องปรับตัวขยับราคาขึ้นตามเพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุน และภาคท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัว นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาประเทศไม่ได้ตามเป้า
ซึ่ง REIC ยังได้ประเมินถึงแนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2565 ว่าผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาฯ เริ่มขยายตัวเพิ่มขึ้น คาดการณ์ได้ว่าจะมีการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินสูงถึงประมาณ 85,538 หน่วย เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ร้อยละ 28.0 หรือคิดได้เป็นช่วงร้อยละ 15.2 – 40.8
นอกจากนั้นส่วนของที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จพร้อมจดทะเบียน จะมีประมาณ 105,307 หน่วย เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ถึงร้อยละ 35.3 หรือคิดได้เป็นช่วงร้อยละ 21.8 – 48.8 นั่นเอง และมาดูด้านผู้บริโภคกันบ้าง มีสัญญาณว่าจะเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน คาดว่าจะมียอดการโอนกรรมสิทธิ์ถึงประมาณ 332,192 หน่วย เพิ่มมากขึ้นจากปี 2564 ร้อยละ 25.1 หรือคิดได้เป็นช่วงร้อยละ 10.5 – 35.5 แบ่งออกเป็นโอนกรรมสิทธิ์แนวราบเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.6 หรือคิดได้เป็นช่วงร้อยละ 12.2 – 37.1 และโอนกรรมสิทธิ์อาคารชุดเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.1 หรือคิดได้เป็นช่วงร้อยละ 7.2 – 32.4
หากคิดแยกตามมูลค่าของการโอนกรรมสิทธิ์คาดว่ามูลค่าการโอนจะอยู่ที่ 909,864 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ร้อยละ 13.3 หรือคิดเป็นช่วงร้อยละ 0.9 – 23.9 แยกเป็นมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์แนวราบเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 10.2 หรือคิดเป็นช่วงร้อยละ 0.9 – 21.2 ในุมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์อาคารชุดเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 หรือคิดได้เป็นช่วงร้อยละ 4.6 – 29.9
ทั้งนี้ ส่วนของมูลค่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลปล่อยใหม่ทั้งประเทศในปี 2565 คาดว่าจะมีมูลค่าถึง 627,548 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2564 คิดเป็นร้อยละ 2.5 หรืออยู่ในช่วงระหว่าง 7.7 – 12.8 และยังมีมูลค่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลค้างอีกประมาณ 4,748,189 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ร้อยละ 5.5 หรืออยู่ในช่วงระหว่าง -5.1 – 10.8
REIC ยังได้ประเมินสถานการณ์ภาพรวมอสังหาฯ ปี 2565 ว่า “มีแนวโน้มที่ผู้ประกอบการอสังหาฯ จะผุดโครงการใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมากกว่าปี 2564 โดยจะเป็นสัดส่วนโครงการในแนวราบมากกว่าอาคารชุด เนื่องจากผู้บริโภคจะให้ความนิยมบ้านแนวราบมากว่า
ส่วนของอาคารชุดจะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นหลังจาก stock ลดลง รวมทั้งราคาที่ดินแพงขึ้นผู้ประกอบการจะกลับมาให้ความสนใจสร้างอาคารชุดอีกครั้งให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค และผู้ประกอบการรายใหม่ๆจะเริ่มจัดโปรโมชั่นที่จูงใจ ส่วนลด ของแถม ให้ผู้ซื้อหันมาสนใจตลาดอสังหาฯ แต่ราคายังคงที่ไม่ปรับตัวลดลงจากปี 2564 มากเท่าไหร่นัก กลุ่มลูกค้าในช่วงปี 2565 ยังเน้นเป็นกลุ่มคนไทยที่อยู่ในช่วง Gen-Y, Gen-Z ที่ประกอบอาชีพอิสระ” เป็นต้น
แหล่งที่มา : posttoday.com
เรื่องอื่นที่น่าสนใจ :
- แนะ!! ผู้ประกอบการอสังหาฯ เตรียมเร่งลงทุนรับเปิดศักราชใหม่
- 108 ไอเดีย ต่อเติมครัวหลังบ้าน เพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้ในครัว
- 18 ไอเดีย ห้องครัวสวยๆ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรักครัว