วันพุธ, พฤศจิกายน 27, 2024
อื่นๆ
    หน้าแรกข่าวบ้าน7 สัญญาณเตือนอสังหาฯ ไทย ปี 2565 อาจไม่สดใส

    7 สัญญาณเตือนอสังหาฯ ไทย ปี 2565 อาจไม่สดใส

    “ปิติ ตัณฑเกษฒ” กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) TTB ได้บรรยายหัวข้อ “แนวโน้มและภาวะเศรษฐกิจ ตลาดเงิน ตลาดลงทุน จะมีผลกระทบต่อตลาดอสังหาฯ ในปี 2565 อย่างไร” ในงานอสังหาริมทรัพย์ไทย ดัชนีหลักชี้เศรษฐกิจปี 2522 โดยคาดว่า ดีมานด์ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ปี 2565 เริ่ม “หดตัว”ลงอันเนื่องมาจากสาเหตุผลกระทบรอบด้านที่ส่งผลต่อกำลังซื้อและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ไม่เหมือนเดิม ดูได้จาก 7 สัญญาณเตือนอสังหาฯ ไทย ปี 2565 ที่ส่อให้เห็นว่าอาจไม่สดใสอย่างที่หลายคนคิดไว้ คือ

    7 สัญญาณเตือนอสังหาฯ ไทย ปี 2565

    1. อายุเฉลี่ยของประชากรไทยเริ่มเปลี่ยนไป “คนวัยทำงานลดลง คนชราเพิ่มขึ้น คู่รักแต่งงานช้า” ซึ่งจากปัจจัยในข้อนี้จะส่งผลต่อความนิยมเรื่องบ้านพักอาศัยจากที่เคยต้องการบ้านหลังใหญ่ จะเลือกที่ขนาดพอเหมาะ กะทัดรัด เน้นความปลอดภัยเป็นหลัก รวมทั้งฟังก์ชั่นการใช้งานไม่ซับซ้อนเกินไป เพราะจำนวนสมาชิกครอบครัวในอนาคตจะน้อยลง คนโสดแต่งงานช้า และขยายที่อยู่อาศัยไปโซนเขตปริมณฑลมากขึ้น

    2. คนวัยทำงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยเริ่มหันมาทำงานที่บ้าน (Work From Home)มากขึ้น ต้องการบ้านที่สามารถใช้พื้นที่ส่วนตัวได้อย่างเต็มที่ มีฟังก์ชั่นครบครัน ที่สำคัญต้องให้ความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมเป็นพิเศษ ดังนั้นผู้ประกอบการควรคิดกลยุทธ์ที่จะสร้างโครงการที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง

    3. ผู้บริโภคมีแรง “ กดดัน” ในการตัดสินใจซื้อ สาเหตุจากปัญหาหนี้ครัวเรือน

    4. มาตรการที่ภาครัฐออกมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาฯ ในปี 2565 นั้นได้ผลดีในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่สัมฤทธิ์ผลไปถึงที่อยู่อาศัยในระดับกลาง และยังจำกัดระยะเวลาแค่ปี 2565 เท่านั้น ส่วนมาตรการผ่อนคลายกำกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ( Loan to Value : LTV) ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และส่วนมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อของชาวต่างชาติ ยังไม่เป็นไปตามเป้าจะเห็นได้ว่าสัดส่วนการซื้อของชาวต่างชาติ “ลดลง” ไปมากโดยเฉพาะกำลังซื้อจากชาวจีนซึ่งเป็นกลุ่มหลักของประเทศ

    5. ช่วง 3 ปีที่ผ่านมาภาคอสังหาริมทรัพย์เริ่มมีการปรับสมดุลในส่วนซัพพลายส่วนเกิน (Excess Supply)

    6. ต้นทุนด้านการก่อสร้างมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น ฉะนั้นผู้ประกอบการต้องวางแผนบริหารจัดการให้เหมาะสม เช่น พยายามรักษาระดับแรงงานให้เพียงพอเพื่อป้องกันแรงงานขาดแคลน, บริหารเกี่ยวกับสต็อกวัสดุก่อสร้างให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับราคาต้นทุน แต่ในส่วนที่ควบคุมไม่ได้ทั้งอีดตและอนาคต อย่างที่ดิน และต้นทุนแรงงานจะเกิดผลกระทบต่อต้นทุนอสังหาริมทรัพย์ก่อนเป็นอันดับแรกเสมอ

    7. สามารถคาดการณ์ได้ว่าในปี 2566 แนวโน้มดอกเบี้ยมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาคอสังหาริมทรัพย์โดยตรง เพราะดอกเบี้ยเงินกู้จะปรับตัวเพิ่มขึ้นตามมา

    นายแบงก์ใหญ่ ธนาคารทหารไทยธนชาติยังได้เพิ่มเติมข้อเสนอแนะวิธีการบริหารดอกเบี้ยขาขึ้น ว่าสามารถทำได้ด้วยการนำหลักการดังนี้ ลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับดอกเบี้ยขาขึ้น, ล็อกต้นทุนโครงสร้างดอกเบี้ย, ออกโปรโมชั่นที่จะดึงดูดใจกลุ่มลูกค้าที่คิดว่ามีศักยภาพในการซื้อให้รับสิทธิส่วนลด ของแถม ของแจก และลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อช่วยระบายสต็อกที่ค้างอยู่ให้ออกไปได้มากที่สุด

    “ในโลกปัจจุบันธุรกิจไม่สามารถที่จะดำเนินได้คนเดียว การมีพาร์ทเนอร์ชิพจึงถือได้ว่ามีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ภาคอสังหาริมทรัพย์เติบโต และเอื้อประโยชน์ให้ผู้ซื้อสามารถเข้าถึงที่อยู่อาศัยได้มากขึ้น การจัดแคมเปญร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการและแบงก์เท่ากับว่าเปิดการทางเลือกให้คนสามารถเข้าถึงสินเชื่อบ้านได้มากขึ้น” ด้วยช่วงแรกให้ผู้กู้ “ จ่ายค่าเช่า” ทดแทนการกู้ไปก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนจากค่าเช่าเป็นเงินดาวน์ในระยะต่อไป เพื่อสร้างเครดิตของตัวผู้กู้เองให้ธนาคารเห็นถึงความสามารถในการผ่อนจ่ายในฐานะของลูกหนี้ที่ดี ธนาคารเองก็จะพิจารณาสินเชื่อได้ง่ายขึ้น ช่วยลดการปฎิเสธสินเชื่อตั้งแตเริ่มกู้ในครั้งแรกอีกด้วย

    แหล่งที่มา : bangkokbiznews.com

    เรื่องอื่นที่น่าสนใจ :

    ช่องทางติดตาม

    16,593แฟนคลับชอบ
    1,636ผู้ติดตามติดตาม
    1,589ผู้ติดตามติดตาม

    เรื่องแนะนำ

    เรื่องน่าอ่าน